top of page

นักวิจัยใช้ AI เข้ามาช่วยรักษา PTSD โดยไม่ต้องบังคับให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับ ปสก.แย่ๆเพื่อรักษาแบบก่อน



ว่ากันว่าความทรงจําและประสบการณ์ทั้งที่ดีและไม่ดีในอดีต หล่อหลอมให้เราเป็นเราเหมือนในทุกๆวันนี้ แทบทุกคนคงอยากลบความทรงจําที่ไม่ดีทิ้ง และเหลือไว้แต่ประสบการณ์ดีๆให้นึกถึง หากในอนาคตมีเทคโนโลยีที่ลบความทรงจําหรือประสบการณ์บางประเภทออกจากสมองเราได้ก็คงจะดี ปต่ก็อาจมีคนแย้งว่า อย่างนี้แล้วพฤติกรรม นิสัยใจคอของคนคนนั้น ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยสิ


PTSD คืออะไร ?

สําหรับบางคน ประสบการณ์ที่เลวร้ายสามารถหลอกหลอนคนๆนั้นได้ จนก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่นการที่ทหารผ่านศึกบางท่านจะสะดุ้งทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงดัง หรือคนที่ประสบอุบัติเหตุสะเทือนขวัญมาอยู่ดีๆจะสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงแตร ทางการแพทย์ถือเป็นสภาวะทางจิตที่เรียกว่า Post Traumatic Stress Disorder (PTSD)


ผู้ป่วย PTSD หลายคนทรมานกับความทรงจําไม่ดีและอยากที่จะกำจัดมันทิ้งออกไปโดยการลบความทรงจํานั้นทิ้งไปเลย แนวคิดนี้ท่านอาจเคยเห็นทั่วไป ไม่ว่าจะในวรรณกรรม ภาพยนตร์ หรือ ซีรี่ย์ fantasy หลายๆเรื่อง แต่เมื่อไม่นานมานี้การจัดการเปลี่ยนแปลงความทรงจําที่แย่ๆเหล่านี้อาจไม่ได้มีแค่ในนิยายอีกต่อไป ด้วยการรักษาแนวใหม่ที่จะมี AI เข้ามาช่วย


ปัจจุบัน PTSD รักษาอย่างไร และมีผลเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันทางการแพทย์จะรับมือกับผู้ป่วย PTSD โดยการทำจิตบำบัด เข้ากลุ่มบำบัด หรืออาจใช้ยาต้านเศร้ารักษาร่วมด้วย รวมถึงวิธีการยอดฮิตอย่าง Exposure Therapy ซึ่งคือการให้ผู้ประสบปัญหา PTSD ค่อยๆรับรู้หรือเผชิญหน้ากับเรื่องราวที่ทําร้ายจิตใจของผู้ป่วยทีละนิด จนสภาพจิตใสามารถรับมือกับเหตุการณ์นั้นได้ดีขึ้น แต่วิธีการรักษาแบบนี้ ก็เป็นดาบสองคมได้ เพราะมันอาจยิ่งสามารถทำร้ายสภาพจิตของผู้ป่วยและไม่เป็นผลกับผู้ป่วยทุกราย เพราะผู้ป่วยต้องพบกับ


รักษาแบบ Neurofeedback Decoder (DecNef) ที่มี AI ช่วยดีกว่าแบบเดิมอย่างไร?

ด้วยการที่ Exposure Therapy เป็นเสมือนดาบสองคม นักประสาทวิทยาการคำนวณ (Computational Neurologist) จึงกำลังศึกษาวิธีการรักษา PTSD โดยใช้ AI และ Machine Learning มาช่วย ซึ่งเรียกเทคนิคว่า Neurofeedback Decoder (DecNef) เพื่อไม่ต้องให้ผู้ป่วยเห็นหรือเจอเหตุการณ์บาดตาบาดใจทุกรอบในการรักษา


ขั้นตอนการรักษาด้วย DecNef นั้นเริ่มโดย

  1. นําข้อมูลจากสมองของผู้ป่วยโรค PTSD ที่ได้จากการทํา neuroimaging หรือการสแกนสมองเพื่อวัดค่าต่างๆเช่น ปริมาณ Oxygen ในเส้นเลือดในสมอง มา

  2. นําข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Machine Learning เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์กันระหว่างค่าที่วัดได้จากการสแกน กับจังหวะที่ผู้ป่วยนึกถึงเหตุการณ์ร้ายๆเหล่านี้ เพื่อดู pattern ว่าสัญญาณสมองแบบไหนสอดคล้องกับเมื่อเค้านึกถึงเหตุการณ์ร้ายๆ

  3. จากนั้นทางนักวิจัยจะให้ผู้ป่วยทํากิจวัตรต่างๆไปเรื่อยๆ โดยเครื่องจะคอยวัดค่าต่างๆในสมอง และเมื่อใดก็ตามหากโมเดล DecNef ขึ้นเตือนว่าเรื่องที่ทําอยู่นั้นมีค่าสัญญาณในสมองคล้ายกับสัญญาณที่ผู้ป่วยเจอเมื่อนึกถึงเรื่องร้ายในอดีต นักวิจัยจะทําการให้เงินผู้ร่วมทดลองเล็กๆน้อยๆเป็นของขวัญ

  4. เมื่อทํางี้ซํ้าๆไปเรื่อยๆ ผู้ป่วย PTSD จะได้รับการรักษาทางอ้อมโดยที่พวกเค้าไม่จําเป็นที่จะต้องนึกถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญตรงๆเพื่อสู้กับมันเหมือนในวิธีรักษาแบบเก่า แต่จําลองเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดสารเคมีในสมองที่คล้ายๆกันแทน และคุณหมอพยายามปรับเปลี่ยนความรู้สึกที่เค้ามีต่อเหตุการณ์นั้นโดยการให้รางวัลเป็นเงิน


สรุปสั้นๆคือ DecNef นั้นใช้ Machine Learning มาช่วยในการ map สารเคมีในสมองเข้ากับเหตุการณ์ที่แย่ๆ จากนั้นพยายามหาเหตุการณ์ที่ทําให้ภาพสแกนของสารในสมองใกล้เคียงมา แล้วให้รางวัล เพื่อทําการหลอกสมองว่าเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดสารเคมีประมาณนี้ความจริงมันดีนะ ไม่ใช่การเข้าไปเปลี่ยนความทรงจําโดยตรง


ทำไมเราถึงต้องการสิ่งนี้?

ปัจจุบันทางนักวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนา DecNef ไปทางการรักษาผู้ป่วย PTSD เนื่องจากวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม (Exposure Therapy) เป็นกระบวนการที่อาจทำร้ายสภาพจิตของผู้ป่วยและไม่เป็นผลกับผู้ป่วยทุกราย ด้วย DecNef ผู้ป่วยอาจสามารถแก้ไขความทรงจำเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับที่มาของความเจ็บปวดอีกเลย นอกจากนี้ทางนักวิจัยอาจลองใช้เทคนิคเดียวกันนี้มาเพิ่มความสามารถในการจํา หรือปลูกฝังความจําที่ใกล้เคียง เพื่อเปลี่ยนรักษานิสัยของผู้ป่วยได้อีกด้วยในอนาคต



Source: https://www.inverse.com/innovation/can-you-erase-memories









53 views0 comments
bottom of page