เมื่อ Deepfake ไม่ได้อยู่แค่ในการตัดต่อรูปโป๊ แต่ใช้เป็นอาวุธทางการเมืองโดยทหารพม่า

ที่ผ่านมาบทความในเพจ OZT ได้เล่า เกี่ยวกับการใช้ deepfake ในหลายด้าน นี่จะเป็นอีกครั้งที่มาเล่าถึงเทคโนโลยีนี้และวิธีการใช้ที่อันตรายสุดๆ คือการใช้ในการปลุกระดมคนทางการเมือง
การปฎิวัติในพม่า และ วีดีโอสารภาพว่ามีการติดสินบนนางอองซาน ซูจี
หลายท่านน่าจะทราบถึงเหตุการณ์การปฏิวัติในประเทศพม่าที่เกิดขึ้นไม่นานนี้ และมีหนึ่งในคลิปฉาว ที่หลุดออกมา ซึ่งเป็นคลิปของ นายเพียว มิน เต่ง (Phyo Min Thein) อดีตมุขมนตรีเมืองย่างกุ้ง ว่ากันว่าผู้นี้คือผู้อยู่เบื้องหลังการวางยุทธศาสตร์สู้ศึกเลือกตั้งของพรรค NLD ในปลายปี 2015 และเป็นคนที่ออง ซาน ซูจี ไว้เนื้อเชื่อใจมากที่สุด โดยในคลิปนายเพียว มิน เต่ง ได้ออกมายอมรับผ่านคลิปว่าเขาได้ติดสินบน นางอองซาน ซูจี ผู้นำของชาวพม่าเพื่อเป็นการ discredit นางอองซาน ท่านสามารถรับชมคลิปได้จากลิงค์นี้ครับ https://www.facebook.com/watch/?v=279901916856963
ชาวพม่าสงสัยว่าคลิปนี้เป็นคลิปปลอมจาก deepfake
หลังจากที่คลิปดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ไปก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย ว่าไอ้เจ้าคลิปนี้มันเป็นของจริงแน่หรือเปล่า เนื่องจากคุณภาพของเสียงและภาพนั้น ค่อนข้างที่จะต่ำ รวมถึงบริเวณริมฝีปากปากของนายเพียว มิน เต่ง นั้นไม่ค่อยแนบเนียนเทียบกับคำพูดที่เขาพูดออกมา ชาวเน็ตและนักวิชาการจากทั้งในและนอกประเทศพม่า บ่งชี้ว่านี่อาจจะเป็นคลิปวิดีโอที่ถูกตัดต่อด้วยเทคโนโลยี Deepfake
ชาวทวิตจากพม่าจึงนำคลิปวีดีโอดังกล่าว upload ขึ้นไปที่เวป https://scanner.deepware.ai/ ซึ่งเป็น Tools ออนไลน์ที่ตัดสินว่าวิดีโอเหล่านี้เป็นวิดีโอที่ปลอมขึ้นมาด้วย deepfake หรือเปล่า ผลออกมาว่าตัว tools ที่คอยจับวีดีโอปลอมนี้ แสดงความมั่นใจว่าส่วนของใบหน้าของนายเพียว มิน เต่ง ถูกตัดต่อขึ้นด้วย deepfake ท่านสามารถดูผลได้ในทิวตของชาวทวิตพม่าจากลิ้งค์นี้ https://twitter.com/Milktea_Myanmar/status/1374372690128035851?s=20 ที่แสดงว่าตัว algorithm มีความมั่นใจว่าวิดีโอนี้เป็นวิดีโอที่ถูกตัดต่อด้วย deep fake ขึ้นมา ผนวกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทุกคนก็พร้อมจะเชื่ออยู่แล้วว่าวิดีโอนี้เป็นวิดีโอที่ตัดต่อขึ้นมา
ว่าด้วยเรื่อง Tools ต่างๆที่จะคอยตรวจสอบ deepfake
ในปัจจุบันมีนักวิจัยหลายท่านได้กำลังพยายาม หาวิธีในการตรวจสอบว่าวิดีโอนี้ถูกตัดต่อด้วย Deepfake มาหรือเปล่า แต่การสร้างเครื่องมือในการตรวจจับ deepfake นั้นเป็นเหมือน เกมตำรวจจับโจรเพราะ deepfake ก็ยังพัฒนาตัวเองให้แนบเนียนขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนที่สร้างเครื่องมือมาจับก็ต้องพัฒนาเครื่องมือขึ้นไปเรื่อยๆ อยู่ดี ปัจุบันมีวิธีการตรวจสอบหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น
1) ดูความเหมือน – เช็คว่าสื่อที่ออกมานั้นมีลักษณะ เหมือนกับสื่อไหนบ้าง ที่อยู่ใน internet ยกตัวอย่างเช่นวิดีโอของ Obama ที่อาจจะพูดอะไรแปลกๆออกมา เครื่องตรวจจับประเภทนี้จะทำการไปดูว่าลักษณะรอบข้างของวิดีโอเหมือนกับวิดีโอไหนในอินเตอร์เน็ตบ้าง และทำการตัดสินใจว่าเป็นวีดีโอจริงหรือปลอม จะเห็นว่าวิธีนี้ไม่ดีเพราะ หากเป็นภาพ เสียง หรือวิดีโอของคนที่ไม่ดังแล้ว tools นี้ จะตรวจจับไม่ได้
2) ดูจุดผิดสังเกต – Algorithm นี้ จะทำการดูจุดที่ผิดสังเกตออกไปจากรูปภาพ เช่น บริเวณปากมีความละเอียดต่างออกไปจากรอบๆหรือเปล่าเป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีเก่าและในปัจจุบันต้องยอมรับว่าไม่ได้ผลดีเท่าวิธีอื่นๆ เพราะหากสื่อที่นำมาตรวจจับนั้นคุณภาพค่อนข้างต่าหรือแตกต่างกับที่เครื่องตรวจจับเรียนรู้ว่าเป็นของปลอมแล้ว มันจะตอบว่าเป็นของปลอมซะส่วนมาก
3) ดูจากความสัมพันธ์ของร่างกาย – วิธีนี้ค่อนข้างล้ำและทางแอดมินเคยเขียนเกี่ยวกับวิธีนี้ไปแล้วโดยจะดูความสัมพันธ์ของการเต้นของหัวใจ ที่ทำให้สีผิวมีการเปลี่ยนไปเล็กน้อย ว่าเสมือนจริงไหมสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/OZTRobotics/photos/a.2103240639695220/3529595943726342/
แล้ววิดีโอนี้ แท้จริ งแล้ว ถูกตัดต่อมาหรือไม่ ?
Henry Ajder นักวิจัย deepfake และ media forensic (ศาสตร์ที่ศึกษาว่าสื่อที่เห็นนั้นจริงหรือปลอม) ได้ชี้แจงว่า ในขณะนี้ algorithm การ detect deepfake แบบต่างๆมีความแม่นยำแค่ในรูปแบบของวิดีโอหรือรูปภาพที่ตัวเองถูกเทรน (สอน) มาเท่านั้น ทำให้ยังมีข้อจำกัดอยู่มากและยังไม่เสถียร โดยเฉพาะในวิดีโอที่มีความละเอียดต่ำดังเช่นในกรณีนี้ algorithm ส่วนมากจะบอกว่าวิดีโอนี้เป็นวิดีโอปลอมเพราะภาพมันไม่ชัด กล่าวว่าถ้าวีดีโอนี้ปลิมขึ้นมาก็เป็นการปลอมที่แนบเนียนมาก เพราะการขยับของหน้าอกและคอของมนุษย์ซึ่ง deepfake ไม่สามารถปลอมแปลงได้นั้น สอดคล้องกับจังหวะการพูดคำสำคัญต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญจึงลงความเห็นว่าวิดีโอนี้ไม่ได้ถูกปลอม แต่เป็นการโดนบังคับให้สารภาพหรือพูดความเท็จมากกว่า ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ถึงแม้เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าวิดีโอนี้จริงหรือปลอมแต่เรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่าด้วยเทคโนโลยี และ social media การกระจายของ fake news ทำได้ง่ายขึ้นและน่าเชื่อถือขึ้นอย่างมาก เรื่องนี้ทำให้การวิจัยและพัฒนา tools สำหรับการแยกว่าสื่อไหนคือ สื่อจริงและสื่อปลอมนั้นสำคัญอย่างยื่ง ซึ่งมนุษย์ไม่น่าจะเป็นผู้ที่แยกข่าวจริงและข่าวปลอมได้ดีที่สุดอยู่แล้วเพราะเรามี bias ในการตัดสิน
การใช้ deepfake นั้นมีความ ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ จากแต่ก่อน โดยเฉพาะหากมาใช้กับการดัดแปลงเรื่องที่สำคัญ ทางการเมืองเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ref: https://www.wired.com/story/opinion-the-world-needs-deepfake-experts-to-stem-this-chaos/
————————
- บริษัทขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่สนใจ Tools ไว้ช่วยควบคุมการทํา merchandise และเก็บข้อมูลด้วย AI สามารถดูต่อได้ที่ www.zeen.cloud
- กดไลค์กดแชร์ Page ของเราเพื่อติดตามเรื่องราวดีๆ และความเคลื่อนไหวของพวกเรา
- องค์กรใดสนใจใช้ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสามารถติดต่อมาพูดคุยกันได้ที่ info@oztrobotics.com