top of page

หมดหวังฉีดนํ้าเฉพาะจุด! MIT วิจัยกลุ่มโดรนบินสํารวจสภาพอากาศทั่วเมือง




นักวิจัยจาก MIT ร่วมกันทำโปรเจคเพื่อตรวจคุณภาพอากาศให้กว้างขวางและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ตรวจได้จากแค่บางจุดเท่านั้น


ในปัจจุบันวิธีการตรวจคุณภาพอากาศนั้นจะตรวจจากจุดวัดค่าอากาศตามสถานีภาคพื้นดินที่กระจายตัวออกไป ข้อเสียคือการตรวจนั้นจะได้ข้อมูลแค่หนึ่งจุดต่อหนึ่งสถานี ซึ่งถ้าต้องการข้อมูลที่แม่นยำสำหรับแต่ละพื้นที่นั้นจะเป็นไปได้ยากมากในทางปฏิบัติเพราะจำเป็นต้องมีสถานีภาคพื้นที่มากพอด้วย


นักวิจัยจึงมีไอเดียที่จะส่งฝูงโดรนไร้คนขับขึ้นไปสูงหนึ่งร้อยเมตรเพื่อตรวจภาพอากาศโดยรอบโดยเฉพาะบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น เพื่อที่จะได้ข้อมูลคุณภาพอากาศที่แม่นยำสะท้อนถึงคุณภาพอากาศสำหรับชุมชนนั้นๆจริงๆ


พวกเค้าทำการออกแบบให้ฝูงโดรนบินไปเก็บข้อมูลตามจุดที่กำหนด เมื่อฝูงโดรนบินกลับลงมาที่จุดจอดก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บได้ให้กับหน่วยประมวลผลกลางเพื่อประเมินผลในภาพรวม จากนั้นโดรนเหล่านี้ก็รอรับคำสั่งใหม่ว่าจะให้บินไปเก็บข้อมูลที่ใดต่อไป การทำงานนั้นนั้นเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด


จุดประสงค์หลักของโปรเจคนี้คือการวัดค่า pm 2.5 ซึ่งเป็นโมเลกุลปนเปื้อนขนาดเล็กในอากาศที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดหรือหัวใจต่อผู้ที่อยู่อาศัยเมื่อสูดเข้าไปเป็นระยะเวลานานได้ ความละเอียดของข้อมูลที่วัดได้นั้นอยู่ที่ระดับ 15 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดสูงมากสำหรับข้อมูลทางสภาพอากาศโดยนักวิจัยตั้งใจว่าจะให้ข้อมูลนี้เป็นเป็นข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย


แม้ว่าระบบทั้งหมดที่นักวิจัยออกแบบนั้นยังเป็นเพียงแบบการจำลองที่ยังไม่ได้สร้างขึ้นจริง แต่ทางแอดมินก็หวังว่าจะมีคนช่วยพัฒนาโปรเจคนี้ต่อเพื่อที่จะสามารถนำระบบนี้มาใช้ได้จริง โดยเฉพาะกับในประเทศไทยเพื่อที่เราจะได้มีข้อมูลคุณภาพอากาศที่แม่นยำเหมาะแก่การศึกษาและวิจัยในเรื่องต่างๆ



Ref: https://news.mit.edu/2021/tackling-air-pollution-with-autonomous-drones-0624


————————

  • กดไลค์กดแชร์ Page ของเราเพื่อติดตามเรื่องราวดีๆ และความเคลื่อนไหวของพวกเรา

  • องค์กรใดสนใจใช้ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานสามารถติดต่อมาพูดคุยกันได้ที่ info@oztrobotics.com

www.oztrobotics.com

24 views0 comments
bottom of page